โครงการพิพิธภัณฑ์หมอเจ้าฟ้า
ในความรับผิดชอบของโรงพยาบาลแมคคอร์มิค มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย
![]() |
มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณของ |
วัตถุประสงค์ งบประมาณการดำเนินการ ระยะเวลาการดำเนินงาน |
"พิพิธภัณฑ์หมอเจ้าฟ้า" โดย โอนเงินเข้าบัญชีชื่อ หมายเหตุ : เพื่อสะดวก ถูกต้อง และรวดเร็วในการออกใบเสร็จ |
พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
และพระราชกรณียกิจที่ทรงมีต่อโรงพยาบาลแมคคอร์มิค
"สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก" องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย ทรงเป็นโอรสองค์ที่ 69 ในพระบาท
สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 7 ในสมเด็จพระศรีสวรินทรา พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงได้รับพระราชทาน
นามว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชฯ
ทรงศึกษาวิชาแพทย์จนสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตเกียรตินิยม เมื่อปี ค.ศ.1928 จากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด สหรัฐ
อเมริกาพระองค์จึงเสด็จกลับประเทศไทย โดยขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยยศสูงยิ่งเป็นสยามมกุฏราชกุมาร จึงทำให้พระองค์ไม่สามารถทรงงานด้านการ
แพทย์ได้ดั่งพระประสงค์ในกรุงเทพฯ พระองค์จึงเสด็จมาทรงงานด้านการแพทย์ดังแพทย์ทั่วไปที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่
วันที่ 25 เดือนเมษายน พ.ศ.2472 สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล อดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ได้เสด็จมาถึงจังหวัดเชียงใหม่เวลา 18.30 น. โดย
รถไฟ เทศาภิบาลมณฑลพายัพให้การรับเสด็จ พระองค์ทรงงานที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิคตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน ถึงวันที่ 16 พฤษภาคม รวมเวลาทั้งหมด
21 วัน ทรงปฏิบัติงานเยี่ยงแพทย์สามัญชน ทรงงานโดยเปี่ยมไปด้วยพระเมตตาและพระกรุณาอย่างดีเยี่ยมต่อผู้ป่วยทุกคน ด้วยพระวิริยะอุตสาหะโดยไม่เลือก
ชั้นวรรณะ เชื้อชาติ ศาสนา และด้วยพระกรุณาธิคุณ พระเมตตาคุณนี้ พสกนิกรได้พร้อมใจกันถวายพระสมัญญานามว่า "หมอเจ้าฟ้า"
พระองค์ได้เสด็จกลับกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ.1929 โดยจะเสด็จถวายพระเพลิงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์
กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช และตั้งพระทัยว่า เมื่อทรงเสร็จสิ้นพระราชภารกิจแล้ว จะเสด็จกลับมาทรงงานแพทย์ที่เชียงใหม่ต่อไป แต่สมเด็จพระบรม
ราชชนกก็ไม่สามารถจะเสด็จกลับมาทรงงานแพทย์ดั่งพระทัยได้ เนื่องจากทรงพระประชวรและเสด็จทิวงคต เมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ.1929 อันเป็นวัน
แห่งการสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการแพทย์และการสาธารณสุขไทย
พระราชกรณียกิจที่ทรงมีต่อโรงพยาบาลแมคคอร์มิค
เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดโรงพยาบาล เมื่อวันที่ 13 มกราคม ค.ศ.1925 ทรงอุดหนุนทางการแพทย์ โดยพระองค์ทรงพระราชทานเงิน
ส่วนพระองค์ ออกค่าเดินทางและเงินเดือนให้แก่คณะเพรสไบทีเรียนมิชชั่นที่สหรัฐอเมริกา จ้าง นพ.เฮนรี่ อาร์โอไบร์อัน (R.O. Brian) แพทย์ชาวอเมริกัน
มาเป็นแพทย์ช่วยที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิค 4 ปี เสด็จมาทรงงานแพทย์ที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิคตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน ค.ศ.1929 ถึงวันที่ 18 พฤษภาคม
ค.ศ.1929 ทรงปฏิบัติพระองค์เยี่ยงแพทย์ธรรมดาสามัญ ทรงรักษาผู้ป่วยทุกคน ไม่ว่าจะมีฐานะและความเป็นอยู่อย่างไร ดังเช่นพระราชกรณียกิจต่อไปนี้
- ทรงออกตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก
- ทรงโปรดรักษาเด็ก และโรคประสาทต่างๆ ซึ่งทรงตรวจอย่างละเอียดละออ
- ทรงทำงานทางด้านห้องทดลองและชันสูตร อาทิ Blood Film, Blood grouping ทรงตรวจอุจจาระ ปัสสาวะ ด้วยพระองค์เอง
- ทรงออกตรวจที่แผนกผู้ป่วยใน ทั้งในเวลากลางวันและเวลากลางคืน
- ทรงเข้าร่วมในการผ่าตัดผู้ป่วย
- ทรงสละพระโลหิตของพระองค์ในการ Blood matching เพื่อช่วยชีวิตเด็กชายบุญยิ่งที่ถูกกระสุนปืนลั่นถูกที่แขน
พระราชกรณียกิจที่ทรงมีต่อโรงพยาบาลแมคคอร์มิค
ทรงพระราชทานเงิน 3,000 ดอลล่าร์ เพื่อซื้อเครื่อง x-ray ให้กับโรงพยาบาล ซึ่งขณะนี้เก็บไว้ ณ อาคารมหิดล และทรงปรารภว่า จะขยาย
โรงพยาบาลให้กว้างขวางขึ้น ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันมากมายต่อพสกนิกรชาวเหนือนี้ พระองค์จึงได้รับขนานพระนามว่า "หมอเจ้าฟ้า"